หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน

  ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ Master of Laws Program

  ชื่อปริญญาบัตร
ภาษาไทย นิติศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ น.ม.
ภาษาอังกฤษ Master of Laws
ชื่อย่อ LL.M.


  โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างและองค์ประกอบของหลักสูตร


1) แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
หมวดเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หมวดวิชาเฉพาะ 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต

2) แผน ข ศึกษารายวิชาและทำสารนิพนธ์
หมวดเสริมพิ้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
หมวดวิชาเฉพาะ 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 15 หน่วยกิต
การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระและสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต
รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต


  หมวดวิชาศึกษา
  หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน
หมวดวิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน
LAW6201 กฏหมายรัฐธรรมนูญชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6202 กฏหมายปกครองชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6203 กฏหมายการเงินการคลังชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6204 ปัญหากฏหมายมหาชน 3 (3-0-6)
LAW6205 กฏหมายวิธีพิจารณาคดีปกครอง 3 (3-0-6)
LAW6206 บัณฑิตสัมมนา 3 (3-0-6)
กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ
LAW6207 บัณฑิตสัมมนา 3 (3-0-6)
LAW6208 กฏหมายองค์กรธุรกิจชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6209 กฏหมายเกี่ยวกับสถาบันการเงิน 3 (3-0-6)
LAW6210 กฏหมายภาษีอากรชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6211 กฏหมายการค้าและการลงทุน 3 (3-0-6)
LAW6212 ปัญหากฏหมายธุรกิจ 3 (3-0-6)
หมวดวิชาเลือก
ให้นิสิตเลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ โดยแผน ก2 ให้เลือกเรียน 9 หน่วยกิตและแผน ข ให้เลือกเรียน 5 หน่วยกิต ตามความเห็นชอบของบัณฑิตวิทยาลัย
LAW6301 หลักการและปัญหาในกฏหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ 3 (3-0-6)
LAW6302 กฏหมายปกครองฝรั่งเศส 3 (3-0-6)
LAW6303 กฏหมายปกครองเยอรมัน 3 (3-0-6)
LAW6304 กฏหมายการเลือกตั้งและกฏหมายรัฐสภาชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6305 กฏหมายธุรกิจเปรียบเทียบ 3 (3-0-6)
LAW6306 ปัญหากฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา 3 (3-0-6)
LAW6307 ปัญหากฏหมายสหภาพยุโรป 3 (3-0-6)
LAW6308 กฏหมายฟื้นฟูกิจการและล้มละลาย 3 (3-0-6)
LAW6309 ปัญหากฏหมายป้องกันการผูกขาดและกีดกั้นทางการค้า 3 (3-0-6)
LAW6310 กฏหมายเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3 (3-0-6)
LAW6311 ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 (3-0-6)
LAW6312 สัญญาระหว่างประเทศ 3 (3-0-6)
LAW6313 กฏหมายหลักทรัพย์ชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6314 กฏหมายประกันภัยชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6315 กฏหมายว่าด้วยการขนส่งระหว่างประเทศ 3 (3-0-6)
LAW6316 ปัญหากฏหมายการเดินอากาศและอวกาศ 3 (3-0-6)
LAW6317 ปัญหากฏหมายพยาน 3 (3-0-6)
LAW6318 กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6319 กฏหมายอาญาชั้นสูงและอาชญากรรมทางธุรกิจ 3 (3-0-6)
LAW6320 กฏหมายสัญญาและละเมิดชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6321 กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6322 ประวัติศาสตร์กฏหมายมหาชน 3 (3-0-6)
LAW6323 กฏหมายอุตสาหกรรมชั้นสูง 3 (3-0-6)
LAW6324 ปัญหากฏหมายภาษีอากร 3 (3-0-6)
LAW6325 กฏหมายภาษีอากรระหว่างประเทศ 3 (3-0-6)
LAW6326 ปัญหากฏหมายการเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ 3 (3-0-6)
LAW6327 ปัญหาสิ่งแวดล้อมในธุรกิจระหว่างประเทศ 3 (3-0-6)
LAW6328 กฏหมายสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบ 3 (3-0-6)
LAW6329 ปัญหากฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค 3 (3-0-6)
LAW6330 ปัญหากฏหมายป้องกันการผูกขาดและกีดกั้นทางการค้า 3 (3-0-6)
LAW6331 อนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศ 3 (3-0-6)
LAW6332 กฏหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 3 (3-0-6)
LAW6333 ศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ 3 (3-0-6)
LAW6334 กฏหมายปกครองอังกฤษ 3 (3-0-6)
LAW6335 กฏหมายปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ 3 (3-0-6)
LAW6336 กฏหมายเกี่ยวกับการบริการสาธารณะเปรียบเทียบ 3 (3-0-6)
LAW6337 กฏหมายเกี่ยวกับภาษีอากรท้องถิ่น 3 (3-0-6)
LAW6338 กฏหมายแรงงานชั้นสูง 3 (3-0-6)
3 (3-0-6)
วิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระและสารนิพนธ์
1) สำหรับผู้ที่เลือกเรียนแผน ก แบบ ก 2 ทำวิทยานิพนธ์
LAW7501 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
2) สำหรับผู้ที่เลือกเรียนแผน ข ไม่ทำวิทยานิพนธ์
LAW7502 การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระและสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต


  ประมาณการค่าใช้จ่าย


   คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

-สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขานิติศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่สำนักงาน กพ.ให้การรับรอง หรือ

-เป็นผู้กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรระดับปริญญาตรีในสาขานิติศาสตร์ และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาก่อนเปิดภาคการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่สำนักงาน กพ.ให้การรับรอง หรือ

-เป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานภายหลังจากที่ได้ศึกษาขั้นบัณฑิตหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี

-ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาให้เข้าศึกษาต่อได้เป็นพิเศษเฉพาะรายและ

-มีคุณสมบัติอื่นๆตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

  ความสำคัญของหลักสูตร

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากร ระบบการศึกษา และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางคุณภาพการศึกษา สร้างคลังแห่งขุมปัญญาที่จะพัฒนาบุคคลให้เป็นศึกษิต คือ บัณฑิตที่เป็นปัญญาชน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตน สังคม ประเทศชาติ และมนุษยชาติในที่สุด ด้วยอุดมการณ์แห่งความร่วมมือยิ่งกว่าการแข่งขัน อีกทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศยังไม่มีการเปิดสอนในหลักสูตรกฏหมายมหาชนอย่างชัดเจนเฉพาะด้าน ประเทศยังขาดองค์ความรู้ด้านกฏหมายมหาชนอย่างครบถ้วน ขาดบุคลากรทางด้านกฏหมายมหาชน ประชาชนขาดความเข้าใจในกฏหมายมหาชน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีพันธกิจที่สำคัญ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม แบะการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในด้านกฏหมาย เพื่อการป้องกัน การสร้างเสริม การคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ที่ถูกเอาเปรียบจากการกระทำต่างๆเพื่อลดผลกระทบและปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

   ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เป็นหลักสูตรที่ต้องการสร้างวิสัยทัศน์และวุฒิภาวะในการวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์องค์ความรู้กฏหมายมหาชนที่มีอยู่เดิมเพื่อนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข รวมทั้งสร้างองค์ความรู้และจัดทำกฏหมายใหม่ได้

   วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะดังนี้

1) มีความรู้ความสามารถและทักษะทางด้านกฏหมายเพื่อการประกอบวิชาชีพ โดยสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้และศาสตร์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเทคโนโลยีและวิทยาการที่ทันสมัยในการปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2) ติดต่อสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน ด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ

3) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4) เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะในเชิงกฏหมาย และสามารถสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการที่ดีมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล

5) มีความรู้ความสามารถและทักษะการใช้เทคโนโยลีสารสนเทศ เทคโนโลยีและวิทยาการที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

6) คิดวิเคราะห์กฏหมายได้อย่างเป็นระบบและแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทั้งในชีวิตประจำวันและที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางด้านนิติศาสตร์

7) มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ ติดตามความก้าวหน้าทั้งทางด้านวิชาการ เทคโนโลยีและวิทยาการที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการศึกษาค้นคว้าและนำผลการวิจับมาประยุกต์ใช้ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง พัฒนาการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน รวมทั้งพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

8) มีเจตคติที่ดีต่อการให้บริการทางด้านกฏหมายแก่ประชาชนทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ

9) มีคุณธรรม จริยธรรม และตระหนักถึงจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมและดำรงไว้วึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม และสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เคารพในกติกาและรับผิดชอบต่อหน้าที่ในสังคม

   อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา

เมื่อสําเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิตสามารถไปประกอบวิชาชีพทางด้านกฎหมาย ทั้งองค์กรภาครัฐใน ตําแหน่งต่างๆ เช่น ผู้พิพากษา ตุลาการในศาลปกครอง อัยการ นิติกร นักวิชาการด้านกฎหมายในส่วนราชการและ ส่วนปกครองท้องถิ่น รวมถึงในส่วนของภาคเอกชน สามารถประกอบอาชีพเป็นผู้บริหารของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการ ดําเนินงานทางด้านกฎหมาย และสามารถเป็นนักกฎหมายประจําบริษัทต่างๆ ของหน่วยงานของภาคเอกชน นอกจากนี้สามารถประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น ทนายความ ที่ปรึกษาทางกฎหมายได้ และสามารถประกอบอาชีพเป็น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชนในสาขานิติศาสตร์ได้